วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รายชื่อกลุ่ม

                                                  เสนอ
                    1. ด.ช.ภูรินท์  ชาวประมง  ม.3/11  เลขที่ 13
                    2. ด.ญ.ศศิกานต์  คงสตรี  ม.3/11  เลขที่ 45
                    3. ด.ญ.สุชาวดี  หะริณสุต ม.3/11  เลขที่ 49
                    4. ด.ญ.หทัยภัทร  บุญภู่    ม.3/11   เลขที่ 50
                    5.ด.ญ. อัจฉราพร  ปิ่นคำ   ม.3/11 เลขที่ 51

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัตว์ป่าสงวนของไทย 15 ชนิด

สัตว์ป่าสงวนของไทย 15 ชนิด
สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก  ใกล้สูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า  สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 
        สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายาก 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ได้แก่
1. 
แมวลายหินอ่อน
2. 
พะยูน
3. 
เก้งหม้อ
4. 
นกกระเรียน 
5. 
เลียงผา 
6. 
กวางผา 
7. 
ละองหรือละมั่ง 
8. 
สมัน
9. 
กูปรี
10. 
ควายป่า
11. 
แรด
12. 
กระซู่
13. 
สมเสร็จ
14. 
นกแต้วแล้วท้องดำ
15. 
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
ข้อห้ามข้อบังคับบางประการจากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
        -
สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        -
ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        -
ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        -
ในกรณีที่การล่าเป็นการล่าเพื่อปกป้องตนเองหรือผู้อื่นหรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
       -
การห้ามการครอบครองและห้ามค้า มีผลไปถึงไข่และซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย
       -
ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรังของสัตว์ ยกเว้นรังนกอีแอ่น (นกแอ่นกินรัง) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน

เลียงผา

เลียงผา

1.เลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ (อังกฤษ: Serow;อีสาน: เยือง) เป็นสกุลของสัตว์สกุลหนึ่ง ในวงศ์Bovidereวงศ์ย่อยCaprinae คือ วงศ์เดียวกับแพะและแกะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis (/แคป/-ปริ-คอร์-นิส/)เลียงผามีลักษณะคล้ายกับกวางผา ซึ่งเดิมก็เคยถูกจัดให้อยู่สกุลเดียวกันมา (ซึ่งบางข้อมูลยังจัดให้อยู่สกุลเดียวกัน) แต่เลียงผามีขนาดใหญ่กว่า มีลักษณะคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขอยาว ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขางอกยาวต่อเนื่องทุกปี ลักษณะของกะโหลกเมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุ, สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และชนิดพันธุ์ มีขนหยาบและไม่เป็น 2 ชั้นเหมือนกวางผา ใต้ตามีต่อมน้ำมันใช้สำหรับถูตามต้นไม้หรือโขดหินเพื่อประกาศอาณาเขต พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่เอเชียใต้,เอเชียตะวันออกเฉียงใต้,อินโดนีเซีย จนถึงเอเชียตะวันออกเช่น จีน,ไต้หวัน,ญี่ปุ่น โดยมักอยู่ตามหน้าผาหรือภูเขาสูง หรือตามเกาะต่าง ๆ กลางทะเล มีความสามารถในการปีนป่ายที่สูงชันได้อย่างคล่องแคล่ว โดยสามารถทำความเร็วในการขึ้นที่สูงได้ถึง 1,000 เมตร ด้วยเวลาเพียง 15 นาทีฃฃ

สมเสร็จ

สมเสร็จ

สมเสร็จ หรือ ผสมเสร็จ (อังกฤษ: Tapir) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินพืชขนาดใหญ่ เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง ลำตัวคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด อาศัยในป่าทึบในแถบอเมริกาใต้,อเมริกากลางและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมดสี่ชนิด คือ สมเสร็จอเมริกาใต้,สมเสร็จมลายู,สมเสร็จอเมริกากลาง และสมเสร็จภูเขา ทั้งสี่ชนิดถูกจัดสถานะเป็นใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สมเสร็จเป็นญาติใกล้ชิดกับสัตว์กีบคี่อื่น ได้แก่ ม้า และแรด




พะยูน

พะยูน
3.พะยูน (อังกฤษ: Dugong, Sea cow) เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน(Sirenia)พะยูนมีรูปร่างคล้ายแมวน้ำขนาดใหญ่ที่อ้วนกลมเทอะทะ ครีบมีลักษะคล้ายใบพาย ซึ่งวิวัฒนาการมาจากขาหน้าใช้สำหรับพยุงตัวและขุดหาอาหาร ไม่มีครีบหลัง ไม่มีใบหู ตามีขนาดเล็ก ริมฝีปากมีเส้นขนอยู่โดยรอบ ตัวผู้บางตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฟันคู่หนึ่งงอกออกจากปากคล้ายงาช้างใช้สำหรับต่อสู้เพื่อแย่งคู่กับใช้ขุดหาอาหาร ในตัวเมียมีนมอยู่ 2 เต้า ขนาดเท่านิ้วก้อย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ถัดลงมาจากขา คู่หน้า สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีลำตัวและหางคล้ายโลมา สีสันของลำตัวด้านหลังเป็นสีเทาดำ หายใจทางปอด จึงต้องหายใจบริเวณผิวน้ำ 1-2 นาที อายุ 9-10 ปี สามารถสืบพันธุ์ได้ เวลาท้อง 9-14 เดือน ปกติมีลูกได้ 1 ตัว ไม่เกิน 2 ตัว แรกเกิดยาว 1 เมตร หนัก 15-20 กิโลเมตร ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 1 ปี กินนมและหญ้าทะเลประมาณ 2-3 สัปดาห์ หย่านมประมาณ 8 เดือน อายุประมาณ 70 ปี โดยแม่พะยูนจะดูแลลูกไปจนโต ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ถึง 3 เมตร น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 300 กิโลกรัม
พะยูนสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานราว 20 นาที เมื่อจะนอนหลับพักผ่อน พะยูนจะทิ้งตัวลงในแนวดิ่ง และนอนอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นทะเลราว 20 นาที ก่อนจะขึ้นมาหายใจอีกครั้งหนึ่ง
อาหารของพะยูน ได้แก่ หญ้าทะเล ที่ขึ้นตามแถบชายฝั่งและน้ำตื้น โดยพะยูนมักจะหากินในเวลากลางวัน และใช้เวลานานถึง 8 ชั่วโมงต่อวันพฤติกรรมการหากินจะคล้ายกับหมู โดยจะใช้ครีบอกและปากดุนพื้นทรายไถไปเรื่อย ๆ จนบางครั้ง จะเห็นทางยาวตามชายหาด จากพฤติกรรมเช่นนี้ พะยูนจึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หมูน้ำ" หรือ "หมูดุด" ในบางตัวที่เชื่องมนุษย์ อาจเกาะกินตะไคร่บริเวณใต้ท้องเรือได้


เก้งหม้อ

เก้งหม้อ

4.เก้งหม้อ หรือ กวางเขาจุก หรือ เก้งดำ หรือ เก้งดง (อังกฤษ: Fea's muntjac, Tenasserim muntjac; ชื่อวิทยาศาสตร์: Muntiacus feae) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่จำพวกกวาง มีลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา (M. muntjac) แต่ต่างกันเก้งหม้อจะมีขนบริเวณลำตัวที่เข้มกว่า ใบหน้ามีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณกระหม่อมและโคนขามีสีเหลืองสด ด้านล่างของลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขาทั้ง 4 ข้างมีสีดำ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อสามัญที่เรียก ด้านหน้าด้านหลังมีสีขาวเห็นได้ชัดเจน หางสั้น หางด้านบนมีสีเข้ม แต่ด้านล่างมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาของเก้งหม้อสั้นกว่าเก้งธรรมดา ผลัดเขาปีละ 1 ครั้ง มีความยาวลำตัวและหัว 88 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร น้ำหนัก 22 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของพม่า, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย

เป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเหลือเพียงตัวเดียวในโลก ที่สวนสัตว์ดุสิต แต่ปัจจุบัน ยังพอหาได้ตามป่าธรรมชาติและวัดในพรมแดนไทยพม่า ที่พระสงฆ์เลี้ยงอยู่ เก้งหม้ออาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณหุบเขาหรือป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ อดน้ำได้ไม่เก่งเท่าเก้งธรรมดา ออกหาอาหารตามลำพังในช่วงเย็นหรือพลบค่ำ แต่ในบางครั้งอาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ในฤดูผสมพันธุ์ จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ.2535

แมวลายหินอ่อน

แมวลายหินอ่อน
5.แมวลายหินอ่อน (อังกฤษ:Marbled cat; ชื่อวิทยาวิทยาศาสตร์ : Pardofelis marmorata) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์เสือ (Felidae)ที่มีขนาดเท่ากับแมวบ้าน (Felis catus) แต่มีหางยาวกว่าและมีขนที่หางมากกว่า หัวมีขนาดเล็ก กลมมน สีขนมีลวดลายเป็นแถบหรือเป็นดวงคล้ายลวดลายของเสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) หรือลวดลายบนหินอ่อน
ปัจจุบันนักวิชาการแบ่งแมวลายหินอ่อนออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่ P. m. marmorata และ P. m. charltoni
ถิ่นอาศัยของแมวลายหินอ่อนอยู่ในรัฐอัสลัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เนปาล (P. m. chartoni) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา เมื่ออยู่ในป่าทึบตามธรรมชาติจะพบเห็นได้น้อย ปัจจุบันยังมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแมวชนิดนี้อยู่น้อย และยังไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ขณะเดียวกันป่าที่เป็นถิ่นอาศัยก็มีพื้นที่ลดลง ทำให้ปัจจุบันแมวชนิดนี้อยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
พฤติกรรมของแมวลายหินอ่อน เมื่ออยู่ในที่เลี้ยงค่อนข้างดุร้ายกว่าเสือหรือแมวป่าชนิดอื่น ๆ มีอายุในสถานที่เลี้ยงยืนสุด 12 ปี